(1) ๖:ท:9:5:1 บุตรนายเดช มารดาชื่อ เนื่อง (สกุลเดิม สุทธิบุตร) เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายเรือ ประมาณ ๖ เดือน สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวง ได้ไปศึกษาวิชาการทหารเรือที่ประเทศเยอรมนี ศึกษาอยู่ประมาณ ๓ ปี เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ รัฐบาลไทยได้ติดต่อกับรัฐบาลเดนมาร์ก ได้ส่งนายดัด บุนนาค ไปศึกษาที่โรงเรียนนายเรือเดนมาร์ก ที่กรุงโคเปนฮาเกน จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ จากนั้นไปศึกษาหลักสูตรทหารปืนใหญ่ที่โรงเรียนนายทหารบก กรุงโคเปนฮาเกน ได้รับประกาศนียบัตร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ รวมเวลาที่ศึกษาอยู่ในประเทศเดนมาร์ก ๑๓ ปี

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้รับราชการและปฏิบัติงานอยู่ที่ประเทศเดนมาร์ก จนได้เลื่อนยศเป็นว่าที่นายเรือเอก จึงเดินทางกลับประเทศไทย เข้ารับราชการในกรมสรรพาวุธทหารเรือ จนเกษียณอายุราชการ

ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงดัษกรกำจาย เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ขณะมียศเป็นนายเรือเอก ตำแหน่งราชการที่สำคัญได้แก่ หัวหน้าแผนกการปืน กรมสรรพาวุธทหารเรือ หัวหน้ากองการปืนกรมสรรพาวุธทหารเรือ พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ และได้รับพระราชทานยศพลเรือตรีเมื่อ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗

ในส่วนราชการพิเศษที่สำคัญ พลเรือตรีหลวงดัษกรกำจาย (ดัด บุนนาค) ได้เป็นราชองครักษ์เวร โดยเสด็จพระราชดำเนินประเทศสิงคโปร์ ชวาและบาหลี ไปกับเรือพระที่นั่งมหาจักรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ไปตรวจการปืนใหญ่ที่ประเทศเดนมาร์กและประเทศสวีเดน ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ และเป็นกรรมการป้องกันภัยทางอากาศแห่งราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย เหรียญบรมราชา ภิเษกรัชกาล ที่ ๗ และเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ ๖ เป็นต้น

พลเรือตรีหลวงดัษกรกำจาย (ดัด บุนนาค) ได้สมรสกับ จงใจ ธิดามหาอำมาตย์ตรีพระยาเสถียรฐาปนกิจ (ชม ชมธวัช) ปลัดทูลฉลองกระทรวงโยธาธิการ มีบุตรได้แก่ เด่นชัย และพลเรือเอกเดชา มีธิดาชื่อ พิศมัย เป็นภรรยาพลเรือเอกถาวร พงศ์พิพัฒน์ และธิดาชื่อ ร้อยเอกหญิงจงดี เป็นภรรยา พลอากาศเอก ทวนทอง ยอดอาวุธ เป็นต้น

พลเรือตรีหลวงดัษกรกำจาย (ดัด บุนนาค) ถึงอนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ อายุ ๙๗ ปี



(1) ๖:ท:10:3:1 บุตรหลวงสัณหโลหการ (บง บุนนาค) มารดาชื่อ หม่อมหลวงถนอม (สกุลเดิม อิศรางกูร) เกิด พ.ศ. ๒๔๔๕ ณ ตำบลวังหลัง เขตบางกอกน้อย ธนบุรี มีน้องสาวร่วมบิดามารดา ได้แก่ ระเบียบ และระบัว

นายระบิลจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ไปศึกษาต่อที่ประเทศสิงคโปร์ เริ่มสนใจการถ่ายรูปและศึกษาจากตำราต่างประเทศ กลับเข้ามารับราชการที่กระทรวงเกษตราธิการ ระหว่างรับราชการได้เดินทางไปสำรวจพันธุ์ไม้ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยร่วมกับข้าราชการชาวต่างประเทศ และได้พบกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดบันทึกไว้ นอกจากนี้นายระบิลยังได้ถ่ายภาพโบราณสถาน วัดวาอาราม ทิวทัศน์ที่งดงาม และภาพเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ภาพที่ถ่ายบันทึกไว้ได้ส่งเข้าประกวด ได้รับรางวัลอยู่เสมอ

ต่อมานายระบิลได้ตั้งร้านถ่ายรูปชื่อร้าน "ร.บุนนาค" ที่ถนนสีลม รับงานถ่ายภาพ ล้างฟิล์มอัดและขยายภาพ งานของท่านเป็นที่นิยมแพร่หลาย เพราะได้คุณภาพและฝีมือประณีต จนเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ "ร.บุนนาค" ต่อมาได้มอบฟิล์มและผลงานทั้งหมดให้แก่หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ไว้เพื่อเป็นสมบัติของชาติให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า

นอกจากรับราชการและประกอบธุรกิจร้านถ่ายรูปแล้ว ยังได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาการถ่ายภาพของวิทยาลัยเทคนิค วิทยาเขตทุ่งมหาเมฆด้วย ยังได้รับเชิญเป็นกรรมการประกวดภาพยนตร์ไทย (ตุ๊กตาทอง) ตั้งแต่แรกเริ่มเป็นเวลานับ ๑๐ ปี

นายระบิล เป็นผู้สนใจในหลักธรรมพุทธศาสนา ได้เดินทางไปประเทศอินเดียและเนปาล ร่วมกับท่าน พุทธทาสภิกขุ เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "สู่แดนพุทธภูมิ" เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ และได้ขยายภาพสำคัญ ๆ ทางพุทธศาสนาที่ถ่ายไว้มอบให้กับวัดไทยที่พุทธคยาและสวนโมกขพลาราม นอกจากนี้ภาพสังเวชนียสถานที่ท่านถ่ายภาพไว้ ได้รับเกียรตินำไปเป็นภาพแสตมป์ที่ระลึกครบ ๒๐ ปีขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ปี ๒๕๑๔ อีกด้วย

นายระบิล ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็น "บุคคลนักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น" ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จากผลงานด้านถ่ายภาพที่ใช้เป็นข้อมูลสำหรับนักอนุรักษ์อย่างกว้างขวาง

นายระบิล สมรสกับ สวน (สกุลเดิม ณ ระนอง) ธิดาหลวงสโมสรราชกิจ มีบุตรธิดารวม ๗ คน ธิดาได้แก่ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงรังสี นาราสี แน่งน้อย นิทรา สุรางค์ และสิรี บุตร ๑ คน คือ นายแพทย์สิโรตม์ นับเป็นลำดับชั้นที่ ๗



(3) ๖:ท:10:4:1 บุตรพลตรีพระยาเทพาธิบดี (เจิ่น บุนนาค) มารดาชื่อ สุ่น เกิด พ.ศ. ๒๔๕๘ สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) และไปศึกษาต่อทางโรคหู คอ จมูก จบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยบอร์โด ประเทศฝรั่งเศส กลับมารับราชการ เป็นอาจารย์ภาควิชา โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา ของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาฯ

ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า สืบตระกูลพลตรีพระยาเทพาธิบดี (เจิ่น บุนนาค) และทวีติยาภรณ์ช้างเผือก สมรสกับท่าน ผู้หญิงเชื้อชื่น (สกุลเดิม พุทธิแพทย์) ทจว. กรรมการและเลขานุการมูลนิธิจงกลณีนิธิ สำนักงานกลางสภากาชาดไทย

มีบุตร ๑ คนชื่อ พันเอกดำรงเทพ นับเป็นลำดับชั้นที่ ๗

หน้า 87





สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30
31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56
57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82
83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106
107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115

Copyright © 2005 Bunnag.in.th All rights reserved.