(๑) ๕:ด:7:2 ธิดาจมื่นทิพยรักษา (พิณเทพเฉลิม บุนนาค) บุตรพระยาศรีสรราชภักดี (วัน บุนนาค) มารดาชื่อ สมบูรณ์ เกิด พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นชายาในพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย ราชสกุล เทวกุล มีโอรสและธิดา ได้แก่ หม่อมราชวงศ์พันธ์ทิพย์ หม่อมราชวงศ์ทวยเทพ หม่อมราชวงศ์เทวไทย หม่อมราชวงศ์จันทรรัตน์ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ หม่อม ราชวงศ์เฉลิมวิมาน หม่อมราชวงศ์จิตรคุปต์ หม่อม ราชวงศ์ศุภกันต์ หม่อมราชวงศ์ยันต์เทพ หม่อมราชวงศ์ภัทราตรีทศ หม่อมราชวงศ์ฉันทัศตรีทศ และหม่อมราชวงศ์ พัฒนาตรีทศ รวม ๑๒ ท่าน หม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา ถึงอสัญกรรม พ.ศ. ๒๕๐๓ อายุ ๗๐ ปี ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า



(๒) ๕:ด:7:2 ธิดาจมื่นทิพยรักษา (พิณเทพเฉลิม บุนนาค) มารดา ชื่อ สมบูรณ์ เป็นน้องสาวหม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา ในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย

หม่อมพร้อยสุพิณ เกิด พ.ศ. ๒๔๓๖ ที่บ้านคลองบางกอกใหญ่ ธนบุรี ได้รับการศึกษาอบรมเยี่ยงกุลสตรีในสมัยนั้นในพระบรมมหาราชวัง โดยท่านบิดาได้นำเข้าถวายตัว เป็นข้าหลวงของสมเด็จพระพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๕ ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวังหลัง (แหม่มโคล์) และโรงเรียนราชินี

หม่อมพร้อยสุพิณ สมรสกับ หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร มีโอรสธิดา ๓ ท่าน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์ไพเราะ หม่อมราชวงศ์เพลินจิตต์ และหม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากร หลังจากหม่อมเจ้าอมรทัตสิ้นชีพตักษัยแล้ว หม่อมพร้อยสุพิณได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ทรงพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗

พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้สมรสกับ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และได้รับใช้ใกล้ชิดทั้งในด้านราชการและส่วนตัว งานชิ้นแรกที่ได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาเป็นผลสำเร็จ คือ การจัดทำหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติ" จนได้รับความนิยมจากผู้อ่าน

พ.ศ. ๒๔๘๖ ติดตามเสด็จในกรมฯ ไปประเทศญี่ปุ่น เมื่อทรงเป็นผู้แทนนายกรัฐมนตรีในการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีของชาติต่างๆ ในมหาเอเซีย ต่อมาได้ตามเสด็จไปกรุงวอชิงตันและนครนิวยอร์ค ในฐานะที่ทรงเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันและผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ และเมื่อทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หม่อม พร้อยสุพิณได้ร่วมตามเสด็จไปต่างประเทศเกือบทุกครั้ง และได้ช่วยงานในด้านส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างสตรีไทยกับสตรีนานาชาติ ได้แก่ งานริเริ่มก่อตั้งสมาคมสตรีภาคพื้นแปซิฟิคและเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทย (ส.ป.อ.ท.) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒

ในบั้นปลายของชีวิต พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อเสด็จในกรมฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานมหกรรมโลก (เอ็กซ์โป ๗๐) ณ เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น หม่อมพร้อยสุพิณซึ่งในขณะนั้นมีอายุ ๗๘ ปี ได้ร่วมตามเสด็จไปในคณะผู้แทนด้วย นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดสำหรับท่าน

ในด้านสาธารณประโยชน์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์สภานายิกา สภากาชาดไทย เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลสร้างอาคารเอ็กซเรย์ "นราธิป-สุพิณ" ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย ร่วมสร้างโรงเรียน ตั้งทุนถวายวัด และให้ทุนการศึกษาแก่หลายสถาบัน

หม่อมพร้อยสุพิณ มีธิดากับเสด็จในกรมฯ คือ หม่อมราชวงศ์วิวรรณ วรวรรณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวิชรมงกุฎ ประถมาภรณ์ช้างเผือก และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

หม่อมพร้อยสุพิณ วรวรรณ ณ อยุธยา ถึงอนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ อายุ ๘๙ ปี

หน้า 53

 


สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30
31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56
57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82
83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106
107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115

Copyright © 2005 Bunnag.in.th All rights reserved.