(1) ๕:ท:10:6 บุตรนายแช่มมหาดเล็ก มารดาชื่อจันทร์ รับราชการบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์เอก ขุนอินทรสมบัติ ตำแหน่ง ปลัดกรมชั้น ๒ กองบัญชีประมวล กรมบัญชีกลาง ต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอินทรสมบัติ



(2) ๕:ท:10:6 บุตรนายแช่มมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ ๕ มารดาชื่อจันทร์ เป็นน้องชายร่วมบิดามารดากับหลวงอินทรสมบัติ (ชม บุนนาค) เกิด พ.ศ. ๒๔๓๙ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วสมัครเข้าเป็นนักเรียนปกครองของกระทรวงมหาดไทย ได้รับคัดเลือกให้เรียนวิชาการปกครองต่อในโรงเรียนข้าราชการ พลเรือน ด้านรัฐศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๕๙ รับราชการเป็นเสมียนพนักงานกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนเข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กหลวงในรัชกาลที่ ๖ จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ เนื่องจากยุบตำแหน่งหน้าที่ราชการในกรมมหาดเล็กหลวงสมัยดุลยภาพ ในรัชกาลที่ ๗

พ.ศ. ๒๔๗๑ กลับเข้ารับราชการในกรมมหาดไทย ประจำแผนกราชทัณฑ์ ปีต่อมาเป็นพะทำมะรง จังหวัดตรัง (พัสดีเรือนจำ)

ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๗๓ เป็นเลขานุการมณฑลอุดรธานี ต่อมาเป็นนายอำเภอธาตุเชิงชุม และรักษาการในตำแหน่งปลัดจังหวัดสกลนครอีกตำแหน่งหนึ่ง

พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นนายอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นปลัดจังหวัดนครพนม ปลัดจังหวัดขอนแก่น ปลัดจังหวัดพระตะบอง ตามลำดับ ได้เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพิบูลสงคราม ใน พ.ศ. ๒๔๘๗ ปีต่อมาเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพิษณุโลก ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนม และข้าหลวงประจำจังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕

พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด (ชั้นพิเศษ) จังหวัดนครปฐม จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ เกษียณอายุ พ.ศ. ๒๕๐๔ เข้าทำงานในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา-กษัตริย์ และเป็นผู้ดูแลพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๓

ในส่วนราชการพิเศษ ขณะที่เกิดมีสงครามมหา เอเซียบูรพา ใน พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีคำสั่งจากกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งให้เป็นปลัดจังหวัด ช่วยราชการจังหวัดสงขลา ทำหน้าที่ร่วมในคณะกรรมการผสมไทยญี่ปุ่น

ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนคำนวณวิจิตร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ และเป็นรองอำมาตย์โท พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้รับยศพิเศษเป็นนายหมวดโท กรมเสือป่าราบหลวงรักษาพระองค์ และนายกองโท กรมการอาสารักษาดินแดน ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย เหรียญรัตนาภรณ์ ภปร.๓ เหรียญราชรุจิทอง (ร.๖) และเหรียญจักรพรรดิมาลา เป็นต้น

ขุนคำนวณวิจิตร (เชย บุนนาค) เป็นผู้มีความรู้ในทางวรรณคดีและการประพันธ์ ได้ประพันธ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และสารคดีไว้ในหนังสือและวารสารต่างๆ ตลอดจนประพันธ์บทละครร้องละครพูดให้แก่โรงเรียนและคณะละครต่างๆ นำออกแสดงมาหลายครั้ง จนถึงบั้นปลายชีวิต ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ อายุ ๗๓ ปี

ขุนคำนวณวิจิตร มีบุตรธิดา ๑๔ คน บุตรได้แก่ บุญชู นาวาเอก (พิเศษ) อวยชัย เชิงชุม พลอากาศเอกประเชิน ประยุทธ วัชรี วีระชาติ และภุชงค์ เป็นต้น




(๕) ๕:ท:11:1 ธิดาพระพรหมธิบาล (บุญเรือง บุนนาค) มารดาชื่อ กลีบ (เล็ก) เกิด พ.ศ. ๒๔๒๔ สมรสกับเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) มีบุตร ๑ คน คือ สดำเดช นับเป็นลำดับชั้นที่ ๖

ตลอดชีวิตของท่านได้ประกอบการกุศลส่วนที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนไว้เป็นอันมาก ได้เริ่มเข้าเป็นอุบาสิกาประจำวัดมหาธาตุ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ สมัยท่าน เจ้าคุณพระพิมลธรรม ฐานทัตตเถระ เป็นเจ้าอาวาส โดย เข้ารักษาศีลฟังธรรมและอุปถัมภ์บำรุงกิจการต่างๆ ของวัดมาโดยตลอด บริจาคทรัพย์จัดตั้งโรงครัวครูปริยัติธรรม สร้างเรือนกรรมฐานถวาย ๑ หลัง ให้ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร ที่ไปศึกษาปริยัติธรรม ณ ประเทศพม่า อินเดีย และศรีลังกา เป็นประจำ นอกจาก นี้ยังบริจาคทรัพย์บำรุงมหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย และอุปถัมภ์บำรุงวัดธาตุทอง เป็นต้น

ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า และถึงอนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ อายุ ๗๓ ปี

หน้า 64

 


สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30
31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56
57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82
83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106
107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115

Copyright © 2005 Bunnag.in.th All rights reserved.