พระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุนนาค) และ
คุณหญิงนิ่ง บุนนาค

ขณะที่ผมกำลังสืบค้นหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระยาเพชรบุรีท่านหนึ่ง คือ พระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุนนาค) เส้นทางการทำงานค้นคว้าหาหลักฐานในภาคสนาม ทำให้ทราบข้อมูลใหม่หนึ่งข้อมูล

"คุณหญิงของพระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุคนาค) ยังทีชีวิตอยู่"

คนที่ทำงานวิชาการค้นคว้าหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อค้นพบข้อมูลใหม่ย่อมตื่นเต้นชนิดที่ลิงโลด ปรพหนึ่งได้พบกรุมหาสมบัติทีเดียวครับ ผมเองก็เป็นอย่างนั้น ใครจะคิดว่า คุณหญิงของพระยาสุรพันธ์ (อิ้น บุนนาค) อดีตเจ้าเมืองเพชรบุรี
(พ.ศ.2465 - 2472) สมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ยังมีชีวิตอยู่

และแล้วผมก็ได้มีโอกาสเข้าไปกราบพบกับคุณหญิงสุรพันธ์เสนี (นิ่ง บุนนาค) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2552 โดยการนำพาของ
พี่อี๊ด

อันที่จริงต้องยอมรับว่า คุณหญิงสุรพันธ์เสนี (นิ่ง บุนนาค) มีสัมพันธภาพทางประวัติศาสตร์กับเมืองเพชรน้อยมาก ทว่าพระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุนนาค) สามีของท่านมีสายสัมพันธ์ลึกซึ้งกับเมืองเพชรบุรีหลายสถานะด้วยกัน

สถานะหนึ่ง ท่านมีชาติกำเนิดเกิดที่เมืองเพชรบุรี
สถานะหนึ่ง
ท่านเคยเป็นผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 14 จังหวัดเพชรบุรี
สถานะหนึ่ง
เคยเป็นเจ้าเมืองเพชรบุรี
สถานะหนึ่ง
เคยเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี

ในความเห็นของผม คุณหญิงของพระยาสุรพันธ์เสนี (นิ่ง บุนนาค) นับว่าเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ สมควรที่จะได้รู้จักประวัติชีวิตของท่าน


เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมในรัชกาลที่ 5

พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)

คุณหญิงของพระยาสุรพันธ์เสนี (นิ่ง บุนนาค) เกิดเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2452 มีชื่อสกุลว่า "นิ่ง ไกรฤกษ์" เป็นธิดาของ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) และคุณลมุม ไกรฤกษ์ "คุณหญิงนิ่ง" เติบโตในพระราชวังสวนดุสิต ขณะมีอายุเพียงสามเดือนโดยการอุปถัมภ์โดยเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ซึ่งมีศักดิ์เป็นป้าแท้ๆ


พระองค์เจ้าสุจิตราภรณ์ (เสด็จพระองค์เล็ก)

ธรรมเนียมเจ้านายสมัยโบราณมักนิยมชุบเลี้ยงผู้คนไว้มากมาย ในรั้วในวังจึงมีเด็กเล็กอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สามัญชนสมัยก่อนก็มักจะมีความปรารถนาให้บุตรหลานได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในวัง เพื่อจะได้รับการศึกษา ปลูกฝัง แต่สิ่งที่ดีๆ ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณี ผู้ที่ได้เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในวังส่วนใหญ่จะเป็นพระญาติของเจ้านาย เด็กบางคนถูกส่งตัวไป เมื่อโตพอสมควรแล้ว บางคนเข้าไปอยู่ตั้งแต่ยังแบเบาะเลยทีเดียว เด็กประเภทนี้เรียกว่าเป็นชาววังโดยแท้ เพราะไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับโลกภายนอก "คุณหญิงนิ่ง" อยู่ในประเภทชาววังโดยแท้ เพราะตั้งแต่เล็กจนเป็นสาวไม่เคยได้สัมผัสกับโลกนอกวังเลย

"คุณหญิงนิ่ง" ขณะยังเป็นทารก เจ้าจอมมารดาชุ่มได้ขอหลานผู้นี้มาอยู่ในวังตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2452 คุณหญิงนิ่งขณะยังแบเบาะอายุเพียงสามเดือน ถูกอุ้มเข้ามาพำนักที่พระตำหนักสวนภาพผู้หญิงนพระราชวังสวนดุสิต โดยมีคุณลมุล ไกรฤกษ์ มารดาตามมาด้วย เพราะต้องเข้าไปให้นม กระทั่งหย่านมแล้ว คุณลมุล จำเป็นต้องลากลับไปอยู่บ้าน

ชื่อ "นิ่ง" เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงพระราชทาน ตั้งให้โดยค่ำวันหนึ่งในเดือนธันวาคม พ.ศ.2452 ขณะที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญอยู่ ณ พระที่นั่งอัมพร สถาน ทรงได้ยินเสียงเด็กผู้หญิงร้องไห้ด้วนเสียงอันดัง จึงรับสั่งถามขึ้นว่า "ลูกใครร้องดังจัง" ด.ช.นัย ไกรฤกษ์ (หลวงไกรฤกษ์ ราชเสวี) พี่ชายได้อุ้มน้องสาวอายุ 11 เดือน เข้าสะเอวแล้วนำขึ้นเฝ้าถวายตัวเมื่อทรงทราบว่า เป็นหลานสาวของเจ้าจอมมารดาชุ่ม จึงทรงรับมาไว้ที่พระเพลาแล้วรับสั่งว่า "นิ่ง" เด็กทารกหญิงก็หยุดร้องไห้ในทันที เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนักเป็นเหตุให้พระองค์พระราช ทานนามหลานสาวของเจ้าจอมมารดาชุ่มคนนี้ในเวลาต่อมาว่า "นิ่ง"


พระราชหัตถเลขา ตั้งชื่อ "คุณหญิงนิ่ง" ลงวันที่ 28 ก.ย. ร.ศ.129

นามพระราชทาน "นิ่ง" ทรงมีพระราชหัตถเลขา พระราชทานลงมาเป็น หลักฐานลงวันที่ 28 กันยายน ร.ศ.129 (พ.ศ.2453) แต่ยังไม่ทันที่คุณหญิง นิ่งจะได้เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทาน "เสมาทองคำ" ตามธรรมเนียม ปฏิบัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตเสีย ก่อนในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 พระราชหัตถเลขา พระราชทานตั้งชื่อ คุณหญิงนิ่ง นับว่าเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เป็นพระราชหัตถเลขา พระราชทานชื่อใบสุดท้ายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงพระราช ทาน

คุณหญิงนิ่ง อายุได้ 2 ขวบ 5 เดือน ก็ต้องไร้ที่พึ่งพิงเพราะเจ้าจอมมารดาชุ่ม ผู้อุปถัมภ์ได้ถึงแก่อนิจกรรม คุณนิ่งจึงถูกโอนมาอยู่ในความอุปถัมภ์ของ พระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้าสุจิตราภรณ์ (เสด็จพระองค์เล็ก) ที่ทรงเลือกที่จะรับเลี้ยงดูคุณหญิงนิ่ง โดยประทานเหตุผลว่า

"เด็กคนนี้ไม่ได้น่ารักน่าชัง แต่เห็นนัยน์ตาแล้วก็อดจะเลี้ยงดูไม่ได้"

"คุณหญิงนิ่ง" จึงตกอยู่ในสภาพ "คนมรดก" คำว่า "คนมรดก" เป็นศัพท์เฉพาะของชาววัง ธรรมเนียมชาววังมีว่า...

 




Copyright © 2005 Bunnag.in.th All rights reserved.